เปิดใจเจ้าของรางวัลแกรมมี่อวอร์ดส์คนเดียวในประวัติศาสตร์ไทย

ไทยรัฐ ออนไลน์มีโอกาสได้ เข้าไปในเขตใช้ความเงียบของ 'วูดดี้-สราวุธ พรพิทักษ์สุข' เจ้าของรางวัลแกรมมี่ อวอร์ดส์ สาขามาสเตอริ่ง เอนจิเนียร์ จากอัลบั้ม ‘The Complete Hot Five and Hot Seven Recording’ งานบ็อกเซตจำนวน 4 แผ่นของ หลุยส์ อาร์มสตรอง ศิลปินแจ๊ส มือเป่าทรัมเป็ต ผู้เป็นตำนานแห่งวงการดนตรีในศตวรรษที่ 20 เป็นการออกมารีมาสเตอร์ในวาระครบรอบ 100 ปีของเขา คงจะไม่ผิดหากจะบอกว่า เป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่สร้างประวัติศาสตร์ชาติ คว้ารางวัลอันทรงเกียรตินี้มานอนกอดที่บ้านได้ “10 ปีแล้วที่ผมได้รางวัล ใจจริงเราอยากให้คนมาทำลายสถิตินี้ เพราะนั่นมันหมายถึงการก้าวหน้าวงการไทยไปสู่สากล” นักมาสเตอริ่งผู้ไม่ค่อยเปิดเผยตัวกล่าว นอกจาก เรื่องเส้นทางกว่าจะ ได้มารางวัลอันทรงคุณค่านี้แล้ว ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เรายังให้เขาวิพากษ์วิจารณ์วงการเพลงไทย พร้อมกับมองไปอนาคตข้างหน้าด้วยว่า วันนี้วงการเพลงไทยที่เห็นกันอยู่ เราเดินมาถูกทางแล้วหรือยัง มาสเตอริ่ง = คนเติมเต็ม มาสเตอริ่ง คือ การเช็กรายละเอียดปรับปรุงแต่งเพลงให้มีความดังความเบาจนบาลานซ์ ชัดเจนมากขึ้น และเป็นมาตรฐานให้กับเพลงนั้นๆมากที่สุด เป็นขั้นตอนสุดท้ายการทำงานก่อนส่งแผ่นซีดี ทั้งนี้หากเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ ตำแหน่งมาสเตอริ่งกับกีฬาฟุตบอล วูดดี้มีหน้าที่ที่คอย “เติมเต็ม” ให้ทุกช่องว่างที่บกพร่องอย่างมีคุณภาพที่สุด วูด ดี้เล่าถึงเส้นทางก่อนจะเดินมาถึงจุดนี้ เมื่ออายุ 4 ปีขณะต้องไปเรียนที่นิวยอร์ก เมื่อผ่านพ้นช่วงเวลาการปรับตัว ก็เริ่มที่จะค้นหาตัวเอง จนมีโอกาสได้ไปฝึกงานที่โซนี่ มิวสิก พร้อมกับหลงรักตำแหน่งมาเตอริ่งดนตรี กระทั่งมีโอกาสเข้ามาถึง เมื่อมีคนส่งงานบ็อกเซตจำนวน 4 แผ่น อัลบั้มเพลงรีมาสเตอร์ของหลุยส์ อาร์มสตรอง ศิลปินแจ๊ส ผู้เป็นตำนานแห่งวงการดนตรีในศตวรรษที่ 20 เป็นการรีมาสเตอร์งานวาระครบรอบ 100 ปี มาให้พวกเราทำการมาสเตอริ่ง “ครั้ง แรกที่รู้ว่าได้ทำงานนี้ดีใจมาก แต่อีกใจมันก็หินมาก เนื่องจากพวกเราต้องรวบรวมเพลงของศิลปินชื่อดังคนนี้จากทุกแหล่ง ทั้งแผ่นเสียงหรือเทปคาสเซ็ท ซึ่งคุณภาพของเสียงนั้นแย่มาก และหน้าที่ของผมก็คือทำให้เพลงที่ออกมานั้น ไพเราะเสนาะหู และใกล้เคียงกับเพลงต้นฉบับมากที่สุด” วูด ดี้บอกว่าใช้เวลานานถึง 5 เดือนด้วยกันในการนั่งอยู่ในห้องอัด จัดการเอาเสียงรบกวน ซึ่งเป็นเพียงจุดเล็กๆ เล็กมากๆ เป็นล้านๆจุดออกให้หมด ทำแบบนี้วันละ 12-14 ชั่วโมงทุกวัน "พอ เสร็จงานผมพาตัวเองไปนอนโรงพยาบาลเลยนะ ไม่ไหวจริงๆครับ” เขาทำหน้าเหนื่อยราวกับจำช่วงเวลานั้นได้แม่นยำ และย้ำว่าผลลัพธ์ที่ออกมาคุ้มซะยิ่งกว่าคุ้ม ส่วนค่าตอบแทนกับผลงานชิ้นโบว์แดงสร้างชื่อนี้ เขาบอกว่าประมาณ 1 ล้านบาทไทย รางวัลแกรมมี่ อวอร์ดส์ สาขามาสเตอริ่ง ปี 2000 "วัน ที่เราเห็นกล่องรางวัลมาถึงบ้าน ผมแอบมือสั่น (ซึ่งมีถ้วยรางวัลทำจากทอง 14K, ประกาศนียบัตรและเหรียญตรา) และผมก็แกะดูและรู้สึกดีใจมากๆ ที่อย่างน้อยผลงานที่ผมและทีมงานช่วยกันทำมาตลอดหลายเดือนได้รับผลที่คุ้ม ค่า อย่างไรก็ตามถ้าผมไม่ได้รางวัล ผมก็ดีใจนะเพราะเวลาเอามานั่งฟังผมก็ภูมิใจในผลงานอยู่ดี" ชีวิตเปลี่ยนแปลง ชีวิตเปลี่ยนแพลน : เมื่อ ถามถึงชีวิตก่อนและหลังได้รับรางวัลแตกต่างกันหรือไม่ หนุ่มมาดสุขุมแอบยิ้มเล็กน้อยและบอกว่านอกจากคนในวงการเพลงก็จะเกรงใจและรู้ ถึงฝีมือเพิ่มมากขึ้น แต่การทำงานทุกอย่าง รวมถึงค่าตอบแทนเหมือนเดิม “สาเหตุ ที่ผมย้ายกลับมาอยู่ที่ประเทศไทย เพราะว่าคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน ที่สำคัญอยากให้ลูกมีความเป็นคนไทย ไม่ใช่คิดทำตัวเป็นฝรั่งจ๋า แต่ก็ตัดสินใจลำบาก เพราะว่าเรากลับมาเป็นศูนย์ ไม่เหมือนกับที่นั่นเรามีงานประจำและมีชื่อเสียงพอสมควร มาถึงที่นี่ก็เป็นฟรีแลนซ์ทำความรู้จักกับคนไปเรื่อยๆ เวลาผ่านไปสักระยะ คนรู้ฝีมืองานก็เริ่มขยาย โดยเราไม่ได้ประชาสัมพันธ์ตัวเอง “ให้ผลงานมันอธิบายตัวมันเองดีกว่า” ผลงานแรกของผมหลังจากกลับมาไทยก็คือผลงานรวมอัลบั้มและคอนเสิร์ตรีมาสเตอร์ 20 ปี 'เบิร์ดกับฮาร์ท' ต่อด้วยงานของไทเทเนียม จากนั้นก็มีอีกหลากหลายค่ายที่ทยอยส่งงานมาให้เรื่อยๆ" คอมเมนต์ระดับโลก : ในฐานะมาสเตอริ่งที่ได้รางวัลระดับโลก มองวงการดนตรีไทยกับสากลแตกต่างกันอย่างไร - เราสงสัย “ถาม ว่าวงการเพลงไทยยังขาดอะไรถึงจะไปสู่สากลได้ อันดับแรกคือความดังของเพลงที่ออกมา เพลงไทยจะเบากว่าเพลงสากลมาก หากใส่เครื่องฟังและเปิดในวอลลุ่มเดียวกัน จึงเป็นหน้าที่ของผมที่จะอธิบายว่ามันขึ้นอยู่กับขั้นตอนตั้งแต่เริ่มอัด...
Read More

Man with a Mission

Man with a Mission Published on Jul 29, 2003 Meet Saravuth ‘Woody’ Pornpitaksuk, a talented Thai mastering engineer with nothing less than a Grammy under his belt, Saravuth Pornpitaksuk, or Woody as he prefers to be called, works as a master engineer for Sony Music Studios in New York. Today, he is temporarily back in Thailand and all smiles. But then who wouldn’t be after walking off with the prestigious Grammy Award for Best Historical Album 2000, “Louis Armstrong: the Complete Hot Five and Hot Seven Recordings.” “Here’s proof of my highest goal,” says the 31-year-old Thai mastering engineer proudly clutching the Grammy Award trophy that’s on the table in front of him. “This has true worth. It isn’t just a trophy. Funny, isn’t it? I never thought that way until I won this!” Saravuth, like many other mastering engineers, missed the chance to come onstage and to receive the award himself at the presentation ceremony. He was just too busy in the studio....
Read More